วันจันทร์ที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2551

Side Chain Compression

สำหรับคนที่เป็นคอเพลงเต้นรำคงเคยสังเกตว่าเพลงสไตล์แบบ French House ทั้งหลายนั้นมีวิธีการคอมเพรสซาวน์ที่รุนแรงจนเป็นเอกลักษณ์ แม้ตัวดนตรีแบบ House จะมีลักษณะเฉพาะอยู่แล้ว ทุกๆแทร็คยังจะมีเสียงที่ดังมากจริงๆ ในแวดวงดีเจจะเรียกซาวด์แบบนี้ว่า “push-pull” อธิบายเหมือนเวลาซาวน์มันกระแทกจะเป็นแบบผลักๆดึงๆ บางทีก็เรียก “breathing” เพราะเหมือนซาวด์มันกำลังหายใจอยู่ หรือบ้างก็เรียกว่า “suction” ภาษาคนไทยบอกซาวน์มันดูดๆกัน ผู้อ่านอาจลองกลับไปหาแผ่นของวง “Daft Punk” หรือ “Deep Dish” ไม่ก็ “Basement Jaxx” เปิดฟังแล้วคงจะเริ่มอ๋อในบรรดาศัพท์แสงเหล่านั้น เหล่านี้เป็นนักดนตรีที่เป็นหัวหอกในดนตรีแบบ House ที่มาจากฝรั่งเศส แม้ว่าดนตรีของแต่ละวงอาจฟังดูแล้วเป็นเอกเทศต่างจากเพลง House ที่มีอยู่ดาดเดื่อน ให้ฟังที่วิธีการคอมเพรสซาวด์ที่รุนแรงนี้ดู (วง “Air” ก็เป็นอีกวงนึงที่มาจากฝรั่งเศส)

คงไม่ใช่เพียงแค่ความโดดเด่นของศิลปินผู้สร้างสรรค์ดนตรีเท่านั้น แต่ก็เป็นเวทมนต์ของเครื่องมือในสตูดิโอเช่นกัน และเวทมนต์นี้ก็มีชื่อว่า “Side chaining”

ในการทำตามตัวอย่างในบทความนี้คุณจำเป็นจะต้องมี

1. ซอฟท์แวร์หลักที่ใช้ร่วมกับ VST Plug-Ins ได้ เช่น Ableton Live, Logic, Cubase, Pro Tools, etc…) จะสามารถทำไซด์เชนนิ่งได้

2. Side Chain Compressor – มีอยู่แล้วใน Live หรือจะดาวน์โหลด Free VST (PC Version | Mac Version) ตามลิงค์ครับ


ไซด์เชนนิ่งทำอะไรบ้าง?

ไซด์เชนนิ่งเป็นการนำเสียงนึง มาควบคุมอีกเสียงนึงอีกที โดยมากคุณจะพบฟังก์ชั่นนี้บนอุปกรณ์พวกไดนามิกโปรเซสเซอร์อย่างคอมเพรสเซอร์ (compressor), เกท (gate), ลิมิตเตอร์ (limiter), เอ็กซ์แพนเดอร์ (expander) แต่ต้องเป็นรุ่นที่แอดวานซ์หน่อย ไม่ใช่แบบพวก preset compressor นอกจากนี้ก็มีอยู่บนพวกเอฟเฟคท์โปรเซสเซอร์เช่น โวโค้ดเดอร์ (vocoders) หรือบนซินทิไซเซอร์ด้วยเช่นกัน

ไซด์เชนนิ่งมีประโยชน์จริงๆ ด้วยวิธีนี้จะทำให้เราสามารถมีเครื่องดนตรีหลายๆชิ้นแม้ว่าจะอยู่ใน frequency ช่วงเดียวกันได้โดยซาวด์ไม่ตีกัน หรือพูดง่ายๆว่าซาวด์มิกซ์ของคุณจะดีขึ้นเห็นๆ (ถ้าทำเป็นแล้ว)

ก่อนอื่นจะอธิบายเทคนิคที่เรียกว่า ดั๊กกิ้ง (Ducking) ซึ่งใช้ในหมู่โปรดิวเซอร์เพลง french house เพื่อที่จะได้ลักษณะซาวด์ที่เรียกว่า “Pumping” ภาษา ไทยเรียกว่า ซาวด์แบบสูบ หรือซาวด์มุดๆ ผู้อ่านที่ไม่เคยได้ยินคงจะงงกับภาษาเหล่านี้แน่ๆ มีตัวอย่างเพลงที่ใช้เทคนิคนี้อย่างรุนแรง ;-) เช่น

เพลง “One more time” โดย “Daft Punk”

เพลง “Together” โดย “Thomas Bangalter & DJ Falcon (จริงๆนายธอมัสนั้นก็อยู่วงดาฟท์พังค์ด้วยนั่นแหล่ะ)

ให้สังเกตเสียงฮอร์นในเพลงของดาฟท์พังค์จะพบว่า มันจะเงียบลงอย่างรวดเร็วเมื่อเสียงคิ๊กดรัมเล่นขึ้นมา นี่แหล่ะเทคนิคที่เรียกว่าดั๊กกิ้ง คำว่า duck ในที่นี้ไม่ได้หมายถึง “เป็ด” แต่ มีอีกความหมายว่า ”มุดหัวหลบ” คงพอจะเข้าใจบ้างแล้วใช่มั้ยว่าฝรั่งเค้าจงใจทำให้เสียงฮอร์นหลบที่ให้เสียง คิ๊กเล่นนั่นเอง ลองฟังเพลงของ DJ Falcon จะได้ยินว่าเสียงร้องลูปนั้นถูกดั๊กให้เสียงคิ๊กเล่นในลักษณะเดียวกัน

ทีนี้จะลองไปหาเพลง French house จากแผ่นไหนก็ได้ใน 8 ปีที่แล้ว ทั้งหมดนั้นก็ทำแบบนี้


ไซด์เชนนิ่งทำซาวด์แบบนี้ได้ไง?

จริงๆแล้วไซด์เชนนิ่งนั้นหมายถึงการปล่อยเสียงจากแทร็คนึงเข้าไปที่เอฟเฟคท์ที่ใส่ให้กับเสียงของอีกแทร็คนึง ซึ่งเป็นกิริยาที่จะใช้กับเสียงกับเอฟเฟคท์อะไรก็ได้ ตย.เช่น เอฟเฟคท์ที่ใช้ทำเสียงร้องประสานอัตโนมัติให้กับนักร้องนำ มักจะอาศัยเอาเสียงตีคอร์ดกีตาร์ที่เค้าเล่นไปด้วย ไปใส่ในเอฟเฟคท์ร้องเพื่อให้ทราบคอร์ดแล้วนำไปวิเคราะห์สร้างเสียงประสานให้ ถูกต้องตามคอร์ดด้วย การนำเสียงนึงไปช่วยควบคุมเอฟเฟคท์ของอีกเสียงนึงก็คือไซด์เชนนิ่งนั่นเอง

แต่ส่วนใหญ่เวลาที่พูดถึงไซด์เชนนิ่ง ในแวดวงจะหมายถึงแต่การใช้ Sidechain Compressors กับ Gates เพื่อทำซาวด์แบบมุด หรือดั๊กกิ้งนั่นเอง จะอธิบายต่อถึงวิธีทำไซด์เชนบนซอฟท์แวร์ Ableton Live

เราจะใช้เสียงจากแทร็คนึงมาควบคุมโวลุ่มของอีกแทร็คได้จริงหรือ ดูจากภาพ เสียง Kick จากแทร็ค drums จะส่งผลให้เสียง pad เบาลงไปเฉพาะเวลาที่ Kick ดังขึ้น สังเกตก่อนและหลังทำไซด์เชนนิ่งให้กับเสียง pad

อันดับแรกต้องให้เตรียมแทร็คออดิโอไว้ 2 แทร็ค โดยแทร็คแรกจะเป็น Kick loop และ แทร็คที่สองเป็นเสียง Synth pad ตามตัวอย่างนี้ ให้ดาวน์โหลดจากลิงค์ไปก็ได้ แล้วนำไปวางในแทร็คตามรูป


ลองใส่ VST คอมเพรสเซอร์ให้กับแทร็ค Synth pad เสร็จแล้วลองเล่นดูก็ไม่เห็นได้ยินเป็นซาวด์แบบมุดเลยนี่หว่า ทำตาม step ดังนี้นะครับ

เราจะต้องตั้งเอาท์พุทของแทร็ค drums ใหม่ เปลี่ยนจากเดิมออกไปที่ Master เป็นไปที่ Synth loop แทน (step 1-2)

แล้วจะมีช่องให้เลือกต่อว่าไปเข้าที่ไหน ก็ให้เปลี่ยนจาก Track in ไปที่ Side Compressor แทน (step3-4)

เป็นอันเสร็จสิ้นการเชื่อมต่อแบบซอฟท์แวร์ตามความหมายของ Side Chaining (เชื่อมโยงข้างเคียง) ต่อไปเราจะมาปรับค่าคอมเพรสเซอร์เพื่อให้ได้ซาวน์แบบ Pumping สุดๆ


การปรับค่าคอมเพรสชั่น


ถ้าลองเพลงฟังตอนนี้ เราจะได้ยินเสียง pad นั้นดั๊กกิ้งแล้ว แต่ไม่เห็นได้ยินเสียง Kick เลย แน่ล่ะเพราะเราเชื่อมมันเข้ามาในคอมเพรสเซอร์แทน จึงไม่ได้ออกไปที่เอาท์พุทมาสเตอร์ ให้เปิดปลั๊กอิส์คอมเพรสเซอร์ออกมา คลิกหมุนปุ่ม Key Volumn ขวาสุดให้ไปที่ 0.0dB เปิดสุดเลเพื่อที่จะได้ยินเสียง Kick กลับมาตามเดิม ไม่ยากเลยใช่มั้ย

ที่เหลือเป็นการปรับตามความเหมาะสมของแต่ละซาวด์ที่นำมา เริ่มจากค่า Treshold อาจจะตั้งไว้แถวๆ -13 หรือ –10db กลางๆก่อน จากวัตถุประสงค์ของตัวอย่างนี้เราอยากจะให้เสียง pad มุดหลบไปเลย จึงสามารถตั้งให้ Ratio หรืออัตราการบีบเสียงเป็น 00:1 (Infinity ต่อ 1 บิดขวาสุด) ซึ่งจะทำให้เสียง pad มีไดนามิคเรนจ์จากเบาไปดังกว้างที่สุดเท่าที่เป็นไปได้

ต่อไปปรับ attack ให้คอมเพรสเซอร์กดเสียง pad เร็วเท่าที่จะทำได้เช่นแถวๆที่ 5msec เพื่อให้เสียง pad ยังไม่คลิปขึ้นมา

ปุ่มปรับ hold จะตั้งให้คอมเพรสเซอร์กดเสียง pad (ด้วย ratio อินฟินีตี้ต่อ1) ให้เงียบนานขึ้นอีกนิด จากตัวอย่างนี้ลองปรับไว้แถวๆ 40msec

ปุ่ม release จะเป็นการตั้งให้เสียง pad ค่อยๆกลับมาดังเร็ว-ช้าแค่ไหน (ต่อจาก hold)

สุดท้ายปุ่ม Gain มีไว้หากการคอมเพรสทำให้ Volumn ทั้งหมดเบาลงไป แต่ตอนี้ตั้งไว้ 0dB ตามเดิม

เท่านี้คุณก็ได้ซาวด์แบบ Pumping ในดนตรีแบบ French house หรืออย่างน้อยคุณก็ประยุกต์ไปใช้ในแบบของคุณได้ J

สุด ท้ายนี้ หวังว่าคงจะสนุกในการเรียนรู้เทคนิคนี้ ซึ่งนำไปปรับปรุงคุณภาพงานเพลงได้จริงๆ ลองเริ่มทดลองใหม่ดูว่ามีซาวด์อะไรบ้างที่จะนำมาไซด์เชนนิ่งได้บ้าง แล้วคุณจะค้นพบอีกมากมาย


แปลและเรียบเรียงจาก sonictransfer.com

3 ความคิดเห็น:

Stargazer กล่าวว่า...

เคยอ่านบทความที่เป็นภาษาอังกฤษแล้ว แล้วก็เพิ่งมาเห็นว่ามีคนไทยเอามาแปลก็ดีใจมากครับ เป็นความรู้ที่เหมาะกับอิเล็กโทรนิกแดนซ์มิวสิคโปรดักชั่นมาก sidechain มันช่วยมากพวกจังหวะ Pumpin' เวลาออก PA ดังๆให้ความรู้สึกว่าอยากเเต้นขึ้นมาทันที ดีใจมากครับที่ได้เจอบล๊อกแบบนี้ แล้วจะติดตามเรื่อยๆนะครับ

wannaritp กล่าวว่า...

ขอบคุณครับ ถ้าเจอบทความที่น่าสนใจอยากให้นำมาลงก่อน สามารถแนะนำได้ครับ หากตกหล่นผิดไป ช่วยกันเสริมได้นะครับ และจะเป็นประโยชน์ต่อทุกคนด้วย ดีใจครับ

Stargazer กล่าวว่า...

อยากจะรู้เรื่องเกี่ยวกับ การมาสเตอริ่งเบื้องต้นนะครับ แบบว่า งงมาก ทำแต่เพลงแต่เวลาจบงานนี่มึนทุกทีเลย
อ้อผมใช้ Ableton นะคับ แต่จิงๆเอาเป็นบทความกลางๆที่นำไปใช้ได้กับทุกซอฟแวร์ก็ได้นะครับ