
คงไม่ใช่เพียงแค่ความโดดเด่นของศิลปินผู้สร้างสรรค์ดนตรีเท่านั้น แต่ก็เป็นเวทมนต์ของเครื่องมือในสตูดิโอเช่นกัน และเวทมนต์นี้ก็มีชื่อว่า “Side chaining”
ในการทำตามตัวอย่างในบทความนี้คุณจำเป็นจะต้องมี
1. ซอฟท์แวร์หลักที่ใช้ร่วมกับ VST Plug-Ins ได้ เช่น Ableton Live, Logic, Cubase, Pro Tools, etc…) จะสามารถทำไซด์เชนนิ่งได้
2. Side Chain Compressor – มีอยู่แล้วใน Live หรือจะดาวน์โหลด Free VST (PC Version | Mac Version) ตามลิงค์ครับ
ไซด์เชนนิ่งทำอะไรบ้าง?
ไซด์เชนนิ่งเป็นการนำเสียงนึง มาควบคุมอีกเสียงนึงอีกที โดยมากคุณจะพบฟังก์ชั่นนี้บนอุปกรณ์พวกไดนามิกโปรเซสเซอร์อย่างคอมเพรสเซอร์ (compressor), เกท (gate), ลิมิตเตอร์ (limiter), เอ็กซ์แพนเดอร์ (expander) แต่ต้องเป็นรุ่นที่แอดวานซ์หน่อย ไม่ใช่แบบพวก preset compressor นอกจากนี้ก็มีอยู่บนพวกเอฟเฟคท์โปรเซสเซอร์เช่น โวโค้ดเดอร์ (vocoders) หรือบนซินทิไซเซอร์ด้วยเช่นกัน
ไซด์เชนนิ่งมีประโยชน์จริงๆ ด้วยวิธีนี้จะทำให้เราสามารถมีเครื่องดนตรีหลายๆชิ้นแม้ว่าจะอยู่ใน frequency ช่วงเดียวกันได้โดยซาวด์ไม่ตีกัน หรือพูดง่ายๆว่าซาวด์มิกซ์ของคุณจะดีขึ้นเห็นๆ (ถ้าทำเป็นแล้ว)
ก่อนอื่นจะอธิบายเทคนิคที่เรียกว่า ดั๊กกิ้ง (Ducking) ซึ่งใช้ในหมู่โปรดิวเซอร์เพลง french house เพื่อที่จะได้ลักษณะซาวด์ที่เรียกว่า “Pumping” ภาษา ไทยเรียกว่า ซาวด์แบบสูบ หรือซาวด์มุดๆ ผู้อ่านที่ไม่เคยได้ยินคงจะงงกับภาษาเหล่านี้แน่ๆ มีตัวอย่างเพลงที่ใช้เทคนิคนี้อย่างรุนแรง ;-) เช่น
เพลง “One more time” โดย “Daft Punk”
เพลง “Together” โดย “Thomas Bangalter & DJ Falcon (จริงๆนายธอมัสนั้นก็อยู่วงดาฟท์พังค์ด้วยนั่นแหล่ะ)
ให้สังเกตเสียงฮอร์นในเพลงของดาฟท์พังค์จะพบว่า มันจะเงียบลงอย่างรวดเร็วเมื่อเสียงคิ๊กดรัมเล่นขึ้นมา นี่แหล่ะเทคนิคที่เรียกว่าดั๊กกิ้ง คำว่า duck ในที่นี้ไม่ได้หมายถึง “เป็ด” แต่ มีอีกความหมายว่า ”มุดหัวหลบ” คงพอจะเข้าใจบ้างแล้วใช่มั้ยว่าฝรั่งเค้าจงใจทำให้เสียงฮอร์นหลบที่ให้เสียง คิ๊กเล่นนั่นเอง ลองฟังเพลงของ DJ Falcon จะได้ยินว่าเสียงร้องลูปนั้นถูกดั๊กให้เสียงคิ๊กเล่นในลักษณะเดียวกัน
ทีนี้จะลองไปหาเพลง French house จากแผ่นไหนก็ได้ใน 8 ปีที่แล้ว ทั้งหมดนั้นก็ทำแบบนี้
ไซด์เชนนิ่งทำซาวด์แบบนี้ได้ไง?
จริงๆแล้วไซด์เชนนิ่งนั้นหมายถึงการปล่อยเสียงจากแทร็คนึงเข้าไปที่เอฟเฟคท์ที่ใส่ให้กับเสียงของอีกแทร็คนึง ซึ่งเป็นกิริยาที่จะใช้กับเสียงกับเอฟเฟคท์อะไรก็ได้ ตย.เช่น เอฟเฟคท์ที่ใช้ทำเสียงร้องประสานอัตโนมัติให้กับนักร้องนำ มักจะอาศัยเอาเสียงตีคอร์ดกีตาร์ที่เค้าเล่นไปด้วย ไปใส่ในเอฟเฟคท์ร้องเพื่อให้ทราบคอร์ดแล้วนำไปวิเคราะห์สร้างเสียงประสานให้ ถูกต้องตามคอร์ดด้วย การนำเสียงนึงไปช่วยควบคุมเอฟเฟคท์ของอีกเสียงนึงก็คือไซด์เชนนิ่งนั่นเอง
แต่ส่วนใหญ่เวลาที่พูดถึงไซด์เชนนิ่ง ในแวดวงจะหมายถึงแต่การใช้ Sidechain Compressors กับ Gates เพื่อทำซาวด์แบบมุด หรือดั๊กกิ้งนั่นเอง จะอธิบายต่อถึงวิธีทำไซด์เชนบนซอฟท์แวร์ Ableton Live
เราจะใช้เสียงจากแทร็คนึงมาควบคุมโวลุ่มของอีกแทร็คได้จริงหรือ ดูจากภาพ เสียง Kick จากแทร็ค drums จะส่งผลให้เสียง pad เบาลงไปเฉพาะเวลาที่ Kick ดังขึ้น สังเกตก่อนและหลังทำไซด์เชนนิ่งให้กับเสียง pad
อันดับแรกต้องให้เตรียมแทร็คออดิโอไว้ 2 แทร็ค โดยแทร็คแรกจะเป็น Kick loop และ แทร็คที่สองเป็นเสียง Synth pad ตามตัวอย่างนี้ ให้ดาวน์โหลดจากลิงค์ไปก็ได้ แล้วนำไปวางในแทร็คตามรูป

ลองใส่ VST คอมเพรสเซอร์ให้กับแทร็ค Synth pad เสร็จแล้วลองเล่นดูก็ไม่เห็นได้ยินเป็นซาวด์แบบมุดเลยนี่หว่า ทำตาม step ดังนี้นะครับ

แล้วจะมีช่องให้เลือกต่อว่าไปเข้าที่ไหน ก็ให้เปลี่ยนจาก Track in ไปที่ Side Compressor แทน (step3-4)
เป็นอันเสร็จสิ้นการเชื่อมต่อแบบซอฟท์แวร์ตามความหมายของ Side Chaining (เชื่อมโยงข้างเคียง) ต่อไปเราจะมาปรับค่าคอมเพรสเซอร์เพื่อให้ได้ซาวน์แบบ Pumping สุดๆ
การปรับค่าคอมเพรสชั่น
ถ้าลองเพลงฟังตอนนี้ เราจะได้ยินเสียง pad นั้นดั๊กกิ้งแล้ว แต่ไม่เห็นได้ยินเสียง Kick เลย แน่ล่ะเพราะเราเชื่อมมันเข้ามาในคอมเพรสเซอร์แทน จึงไม่ได้ออกไปที่เอาท์พุทมาสเตอร์ ให้เปิดปลั๊กอิส์คอมเพรสเซอร์ออกมา คลิกหมุนปุ่ม Key Volumn ขวาสุดให้ไปที่ 0.0dB เปิดสุดเลเพื่อที่จะได้ยินเสียง Kick กลับมาตามเดิม ไม่ยากเลยใช่มั้ย

ต่อไปปรับ attack ให้คอมเพรสเซอร์กดเสียง pad เร็วเท่าที่จะทำได้เช่นแถวๆที่ 5msec เพื่อให้เสียง pad ยังไม่คลิปขึ้นมา
ปุ่มปรับ hold จะตั้งให้คอมเพรสเซอร์กดเสียง pad (ด้วย ratio อินฟินีตี้ต่อ1) ให้เงียบนานขึ้นอีกนิด จากตัวอย่างนี้ลองปรับไว้แถวๆ 40msec
ปุ่ม release จะเป็นการตั้งให้เสียง pad ค่อยๆกลับมาดังเร็ว-ช้าแค่ไหน (ต่อจาก hold)
สุดท้ายปุ่ม Gain มีไว้หากการคอมเพรสทำให้ Volumn ทั้งหมดเบาลงไป แต่ตอนี้ตั้งไว้ 0dB ตามเดิม
เท่านี้คุณก็ได้ซาวด์แบบ Pumping ในดนตรีแบบ French house หรืออย่างน้อยคุณก็ประยุกต์ไปใช้ในแบบของคุณได้ J
สุด ท้ายนี้ หวังว่าคงจะสนุกในการเรียนรู้เทคนิคนี้ ซึ่งนำไปปรับปรุงคุณภาพงานเพลงได้จริงๆ ลองเริ่มทดลองใหม่ดูว่ามีซาวด์อะไรบ้างที่จะนำมาไซด์เชนนิ่งได้บ้าง แล้วคุณจะค้นพบอีกมากมาย
แปลและเรียบเรียงจาก sonictransfer.com
3 ความคิดเห็น:
เคยอ่านบทความที่เป็นภาษาอังกฤษแล้ว แล้วก็เพิ่งมาเห็นว่ามีคนไทยเอามาแปลก็ดีใจมากครับ เป็นความรู้ที่เหมาะกับอิเล็กโทรนิกแดนซ์มิวสิคโปรดักชั่นมาก sidechain มันช่วยมากพวกจังหวะ Pumpin' เวลาออก PA ดังๆให้ความรู้สึกว่าอยากเเต้นขึ้นมาทันที ดีใจมากครับที่ได้เจอบล๊อกแบบนี้ แล้วจะติดตามเรื่อยๆนะครับ
ขอบคุณครับ ถ้าเจอบทความที่น่าสนใจอยากให้นำมาลงก่อน สามารถแนะนำได้ครับ หากตกหล่นผิดไป ช่วยกันเสริมได้นะครับ และจะเป็นประโยชน์ต่อทุกคนด้วย ดีใจครับ
อยากจะรู้เรื่องเกี่ยวกับ การมาสเตอริ่งเบื้องต้นนะครับ แบบว่า งงมาก ทำแต่เพลงแต่เวลาจบงานนี่มึนทุกทีเลย
อ้อผมใช้ Ableton นะคับ แต่จิงๆเอาเป็นบทความกลางๆที่นำไปใช้ได้กับทุกซอฟแวร์ก็ได้นะครับ
แสดงความคิดเห็น